Securitization คืออะไร มีข้อดีข้อเสียต่อบริษัทอย่างไร
Securitization คืออะไร มีข้อดีข้อเสียต่อบริษัทอย่างไร
การระดมทุนของบริษัท ถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำหรับการต่อยอดทางธุรกิจ ที่จะทำให้บริษัทหรือองค์กรธุรกิจ สามารถนำเงินมาลงทุนได้ ซึ่งหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจคือการทำหุ้นกู้ โดยเฉพาะหุ้นกู้ Securitization ที่มีความน่าเชื่อถือมาทำการระดมทุนและขายให้แก่นักลงทุนนั่นเอง วันนี้เราจะพาทุกคนไปดูกันว่า หุ้นกู้ Securitization คืออะไร และมีข้อดีข้อเสียอย่างไรต่อบริษัทที่ต้องการออกหุ้นกู้ตัวนี้
Securitization คืออะไร
การแปลงสินทรัพย์ให้เป็นหลักทรัพย์ หรือ Securitization คือ การที่ทำการแปลงสินทรัพย์ที่เปลี่ยนมือได้ยากของผู้ต้องการระดมทุน เช่น สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อบัตรเครดิต หรือสินทรัพย์อื่นๆ ที่มีลูกหนี้และถือว่าเป็นทรัพย์สินที่มีความคล่องตัวต่ำ แต่มีกระแสเงินสดรับที่แน่นอน มาแปลงให้อยู่ในรูปแบบของหลักทรัพย์ เพื่อนำมาขายให้แก่นักลงทุนต่อไป ซึ่งการทำหุ้นกู้ Securitization นั้น อาจจะเรียกอีกรูปแบบได้ว่า Securitized bond ได้เช่นกัน
หุ้นกู้ Securitization ถือเป็นหนึ่งทางเลือกที่ทำให้นักลงทุนมีความมั่นใจ
หลายคนอาจมีความสงสัยว่าทำไมหุ้นกู้ Securitization ถึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ นั่นเป็นเพราะว่าหุ้นกู้ Securitization เป็นหุ้นกู้ที่มีการประเมินความน่าเชื่อถือจากคุณภาพของกองสินทรัพย์ที่นำมาหนุนหลังการออกหุ้นกู้ ทำให้มีกระแสเงินสดรับที่แน่นอน และกระจายความเสี่ยงได้ในตัว เนื่องจากเป็นการนำลูกหนี้หลายรายมารวมกันเป็นกองสินทรัพย์ ก่อนออกหุ้นกู้ Securitization ออกมานั่นเอง
นักลงทุนสามารถมั่นใจได้ว่า จะได้รับกระแสเงินสดอย่างต่อเนื่องจากกองสินทรัพย์นั้น โดยไม่ต้องรับความเสี่ยงจากการดำเนินงานของเจ้าของสินทรัพย์เดิม แม้ว่าจะล้มละลาย ก็ไม่มีผลต่อหุ้นกู้ที่ได้รับกระแสเงินสดจากกองสินทรัพย์นั้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งกองสินทรัพย์นั้น จะต้องมีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าของหุ้นกู้ที่ออกไปแล้วด้วย ทำให้หุ้นกู้ Securitization นั้น มีความน่าเชื่อถือค่อนข้างสูงด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ความน่าเชื่อถือนั้น ขึ้นอยู่กับคุณภาพของกองสินทรัพย์นั้นด้วยเช่นกัน
ข้อดี-ข้อเสีย ของหุ้นกู้ Securitization
ข้อดีของหุ้นกู้ Securitization
- ช่วยให้มีสภาพคล่องในการดำเนินงานสูงขึ้น
การทำ Securitization นั้น จะเข้ามาช่วยให้บริษัทที่มีหนี้สินในบัญชี สามารถลบหนี้ออกจากงบดุล ด้วยการหาแหล่งเงินทุนใหม่เข้ามาแทนที่ ทำให้บริษัทได้เงินทุนหมุนเวียน และอาจเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทได้ด้วย - ช่วยกระจายความเสี่ยงของแหล่งเงินทุน
กองสินทรัพย์ที่นำมาทำ Securitization นั้น โดยส่วนใหญ่จะเป็นการจัดระดับความเสี่ยงเอาไว้ ทำให้นักลงทุนที่สนใจ สามารถเลือกลงทุนตามความเสี่ยงที่ต้องการได้มากขึ้น เช่น นักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้สูง ก็สามารถเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ที่ได้รับผลตอบแทนสูงกว่า และมีความเสี่ยงที่สูงกว่า เป็นต้น - มีอันดับความน่าเชื่อถือสูง
อีกหนึ่งข้อดีที่มองข้ามไม่ได้คือการทำให้อันดับความน่าเชื่อถือนั้นเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากตราสารที่เกิดจากการทำ Securitization นั้น สามารถระดมทุนได้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพราะมีสินทรัพย์ค้ำประกัน และสามารถแยกความเป็นเจ้าของสินทรัพย์ได้ - นักลงทุนรายย่อยสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้
สำหรับการเปิดให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนนั้น การทำ Securitization นั้น ได้รับอนุญาตให้นักลงทุนรายย่อย สามารถเข้าซื้อหุ้นในตราสารที่พวกเขาไม่สามารถเข้าถึงได้ โดยจะได้รับผลตอบแทนเป็นประจำกลับไป
ข้อเสียของหุ้นกู้ Securitization
- เกิดการแทรกแซงที่ไม่สามารถควบคุมได้
เนื่องจากการทำ Securitization เป็นการนำสินทรัพย์เข้ามารวมไว้ให้เป็นกองสินทรัพย์ แน่นอนว่าหนึ่งในข้อเสียที่ถือเป็นความเสี่ยงที่จำเป็นจะต้องพิจารณาก็คือ การถูกแทรงแซงโดยที่ไม่สามารถควบคุมได้ ทั้งจากด้านเศรษฐกิจไปจนถึงด้านการเมือง เช่น ในกรณีที่เศรษฐกิจดี หลักทรัพย์เหล่านั้นยังคงสร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนได้ เนื่องจากลูกหนี้สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดเวลา แต่ถ้าหากเศรษฐกิจหดตัวหรือชะงัก ก็อาจจะมีความเสี่ยงที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระเงินกู้ได้ตามกำหนดเวลา และทำให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับผลตอบแทนตามกำหนดเวลา เป็นต้น
สำหรับการตัดสินใจวางแผนที่จะทำ Securitization นั้น องค์กรจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาและทำความเข้าใจข้อมูลรายละเอียดต่างๆ อย่างดีเพื่อที่จะช่วยให้การรวบรวมสินทรัพย์ และการระดมทุนผ่านหุ้นกู้ Securitization นั้น เป็นไปอย่างราบรื่น และตอบโจทย์ความต้องการขององค์กรมากที่สุด
สนใจปรึกษาเรื่องการระดมทุนผ่านโทเคนดิจิทัล ติดต่อได้ที่ contact.us@kubix.co
บทความนี้ไม่ใช่คำแนะนำทางการลงทุน นักลงทุนโปรดศึกษาความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง
โทเคนดิจิทัลเป็นสินทรัพย์มีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาก่อนตัดสินใจลงทุนและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้
ติดตามข่าวสารจากเราได้ที่ :
➡ LINE Official: @Kubix (https://lin.ee/Jub58gd)
➡ Facebook: Kubix.DigitalAsset (www.facebook.com/Kubix.DigitalAsset)
➡ Website: www.kubix.co