ครบจบ! ESG คืออะไร สามารถใช้ Blockchain เข้ามาช่วยได้อย่างไร

โดย Kubix

ESG คืออะไร ใช้ Blockchain ตอบโจทย์ ESG Investing ได้อย่างไร?

สำหรับโลกการลงทุนแล้ว ‘ESG’ ถือเป็นหนึ่งในเทรนด์การลงทุนที่น่าจับตามองและมีแนวโน้มการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง ไม่เว้นแม้แต่การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล 
แล้ว ESG คืออะไร ทำไมถึงเป็นเทรนด์ในโลกการลงทุน มาทำความเข้าใจ ESG ในแต่ละมุมให้มากขึ้น พร้อมรู้จักการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) เพื่อตอบโจทย์ ESG Investing อย่างมีประสิทธิภาพในบทความนี้กัน

รู้จัก ESG ให้มากขึ้น

ความยั่งยืนของธุรกิจสร้างขึ้นได้จากปัจจัย 2 ด้าน คือ ‘คุณภาพตัวธุรกิจเอง’ และ ‘ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม’ โดยปัจจัยที่สองนี้สามารถวัดผลลัพธ์ได้จากการดำเนินงาน 3 ด้าน ประกอบไปด้วย Environment - Social - Governance หรือ ESG นั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ ESG Investing จึงเป็นการลงทุนที่มุ่งเน้นไปที่การเลือกสินทรัพย์การลงทุนที่มีส่วนร่วมในการสร้างความยั่งยืนให้กับโลกอย่างรอบด้านตามหลักการ 3 ด้าน ดังนี้

    1. Environment หรือ ด้านสิ่งแวดล้อม: ตรวจสอบว่า ‘สินทรัพย์’ หรือ ‘องค์กร’ มีส่วนช่วยดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างไร เช่น สนับสนุนการทำคาร์บอนเครดิตที่ถูกต้อง มีการสร้างนวัตกรรมการกำจัดขยะเพื่อลดภาระให้สิ่งแวดล้อม
    1. Social หรือ ด้านสังคม: ตรวจสอบว่า ‘สินทรัพย์’ หรือ ‘องค์กร’ สร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นให้กับโลกได้อย่างไร เช่น สนับสนุนความเท่าเทียมในที่ทำงาน ไปจนถึงการสร้างอาชีพเพื่อลดความยากจน
    1. Governance หรือ ด้านบรรษัทภิบาล: ตรวจสอบความโปร่งใสของ ‘สินทรัพย์’ หรือ ‘องค์กร’ ที่ต้องการร่วมลงทุนด้วย เช่น ความโปร่งใสในงบการเงิน กระบวนการทำงาน และแนวทางด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน

รู้จัก ESG แล้ว ยังต้องเข้าใจ ‘ความยั่งยืน’ ด้วย

จะเห็นได้ว่า ESG คือ ‘แนวคิด’ ที่องค์กรปรับใช้ในการดำเนินงานเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนแปลงสังคมให้น่าอยู่ ตลอดจนเพิ่มความโปร่งใสให้กับธุรกิจ อย่างไรก็ดี การสร้างความยั่งยืนให้กับโลกอย่างแท้จริงจำเป็นต้องอาศัยการพัฒนาในด้านอื่น ๆ ประกอบกันด้วย

ด้วยเหตุนี้ นอกจากหลัก ESG แล้ว นักลงทุนจึงควรพิจารณาถึงเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติอย่าง Sustainable Development Goals : SDGs ที่มีจุดประสงค์ในการสร้างความยั่งยืนด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้าน 

หลัก Sustainable Development Goals : SDGs ประกอบไปด้วยเป้าหมาย 17 ประการที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาอย่างรอบด้าน เพื่อสร้างความยั่งยืน ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกรูปแบบของโลกใบนี้ โดยเป้าหมาย 17 ประการจะมีรายละเอียดเบื้องต้น ดังนี้

  1. No Poverty - ขจัดความยากจนทุกรูปแบบทั่วโลก
  2. Zero Hunger - ยุติความหิวโหย ส่งเสริมการทำเกษตรที่ยั่งยืน ยกระดับโภชนาการและอาหาร
  3. Good Health and Well-Being - ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีให้กับผู้คน พร้อมหลักประกันในการเข้าถึงสุขภาพที่ดี
  4. Quality Education - เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม มีโอกาสเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต
  5. Gender Equality - ส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ
  6. Clean Water and Sanitation - เข้าถึงการจัดการน้ำที่มีคุณภาพและมีสุขอนามัย
  7. Affordable and Clean Energy - เข้าถึงพลังงานสะอาดได้ในราคาย่อมเยา
  8. Decent Work and Economic Growth - ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจรอบด้าน
  9. Industry, Innovation and Infrastructure - ส่งเสริมนวัตกรรม รองรับพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน
  10. Reduced Inequality - ลดความไม่เสมอภาคทั้งภายในและระหว่างประเทศ
  11. Sustainable Cities and Communities - สร้างเมืองที่ยั่งยืนและปลอดภัย
  12. Responsible Consumption and Production - เน้นการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน
  13. Climate Action - ต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและผลกระทบที่เกิดขึ้น
  14. Life Below Water - อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน
  15. Life on Land - ใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน ทั้งป่าไม้ สัตว์ป่า และการพัฒนาที่ดิน
  16. Peace and Justice Strong Institutions - เข้าถึงความยุติธรรม สร้างสถาบันที่มีประสิทธิภาพและมีความรับผิดชอบ
  17. Partnerships to Achieve the Goal - เสริมความเข้มแข็งให้กับการประสานงานกันทั่วโลกเพื่อบรรลุเป้าหมายสู่ความยั่งยืน

Blockchain เข้ามาช่วย ESG Investing ได้อย่างไร?

นักลงทุนหลายคนอาจเข้าใจว่า การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นเป็นการส่งเสริมให้เกิดภาวะโลกร้อน เนื่องจากระบบการทำงานของบล็อกเชน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Consensus Algorithm นั้นมีการใช้พลังงานไฟฟ้าที่สูง

อย่างไรก็ดี บล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัลหลากหลายรูปแบบเองก็ได้มีการพัฒนาและปรับตัวให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ทั้งยังมีโปรเจกต์ที่สอดคล้องกับหลัก ESG Investing ทั้งยังสนับสนุนหลัก Sustainable Development Goals ทั้ง 17 ประการ เพื่อจุดประสงค์ในการสร้างความยั่งยืนที่แท้จริงให้กับโลกอีกด้วย 

ในปัจจุบันนี้ ภาครัฐและเอกชนทั่วโลกได้มีการพัฒนาโปรเจกต์สินทรัพย์ดิจิทัลที่น่าสนใจมากมาย ทั้งยังสอดคล้องกับ ESG Investing และหลัก Sustainable Development Goals ที่ตอบโจทย์ความยั่งยืนให้กับโลกได้อีกด้วย แต่จะมีโปรเจกต์ไหนน่าสนใจบ้าง ลองมาทำความรู้จักกับ 4 โปรเจกต์ที่น่าจับตามองในช่วง 1 - 2 ปีที่ผ่านมากัน

โปรเจกต์ Veridium

โปรเจกต์ Veridium จัดเป็นการลงทุนประเภท Carbon Market Investing ที่มีจุดประสงค์ในการบรรลุเป้าหมายข้อที่ 13 หรือ Climate Action เพื่ออนุรักษ์พื้นที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ Rimba Raya หรือ Rimba Raya Biodiversity Reserve ในเกาะบอร์เนียว 
โดย Veridium เป็นธุรกิจสตาร์ทอัปด้านเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมที่ร่วมมือกับบริษัท IBM เพื่อเปลี่ยนคาร์บอนเครดิตให้เป็น Digital Token ภายใต้ชื่อ VERDE ที่สามารถซื้อขายได้อย่างอิสระบนบล็อกเชน Stellar 

โปรเจกต์ Moeda

โปรเจกต์ Moeda เป็นการลงทุนในธีม Impact Investing ที่มุ่งเน้นแก้ปัญหาด้านไม่ความเท่าเทียมและการสร้างรายได้ ทำให้ตอบโจทย์ทั้งเป้าหมายทั้งในข้อ No Poverty และ Reduced Inequality
โดย Moeda เป็นแพลตฟอร์มการลงทุนที่เชื่อมต่อนักลงทุนกับธุรกิจขนาดเล็กที่ต้องการทุนในการดำเนินการ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้นักลงทุนจากทั่วโลกได้สร้างโอกาสให้กับธุรกิจขนาดเล็กที่มีปัญหา ทั้งจากการหาทุนจากธนาคาร รวมไปถึงอคติทางเพศที่ทำให้ผู้หญิงไม่สามารถริเริ่มธุรกิจของตัวเองได้ ผ่านการใช้ Digital Token อย่าง Moeda ที่ทำงานบนบล็อกเชน Ethereum
Moeda แบ่งการทำงานออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนสำหรับนักลงทุน และ ส่วนสำหรับธุรกิจที่ต้องการเงินทุน โดยตัวระบบจะมี Impact Formula ที่ช่วยวัดผลตอบแทนทางการเงินของธุรกิจที่จดทะเบียนกับ Moeda เอาไว้ ทำให้นักลงทุนสามารถติดตามผลการดำเนินงานและโอกาสในการสร้างผลตอบแทนได้อย่างสะดวก

โปรเจกต์ Energi Mine

โปรเจกต์ Energi Mine เป็นการลงทุนในเทรนด์ Energy Conservation ที่มีจุดประสงค์ในการบรรลุเป้าหมาย Affordable and Clean Energy และ Sustainable Cities and Communities
โดย Energi Mine เป็นตลาดพลังงานที่ใช้เทคโนโลยี AI และบล็อกเชนในการกระตุ้นการประหยัดและใช้พลังงานอย่างยั่งยืนผ่าน Digital Token ที่มีชื่อว่า EnergiToken โดยนักลงทุนจะได้รับ Digital Token จากการรณรงค์การประหยัดพลังงาน เช่น ซื้อรถยนต์ไฟฟ้า และ การใช้รถสาธารณะ

โปรเจกต์ BYD

โปรเจกต์ BYD เป็นหนึ่งในการลงทุนเทรนด์ Carbon Market Investing ที่มีจุดประสงค์ในการบรรลุเป้าหมาย 3 ประการ คือ Affordable and Clean Energy, Sustainable Cities and Communities และ Climate Action

โปรเจกต์ดังกล่าวนี้เป็นโซลูชันธนาคารคาร์บอนที่บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าอย่าง BYD ร่วมมือกับ DNV GL และ VeChain ซึ่งเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมยนตรกรรมระดับโลก 

โดยนักลงทุนจะต้องติดตั้งแอปพลิเคชันที่รองรับบล็อกเชนและการทำสัญญาอัจฉริยะ หรือ Smart Contract จากนั้นระบบภายในแอปพลิเคชันจะทำการคำนวณการใช้พลังงาน การปล่อยมลพิษและคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศของรถยนต์ที่ใช้อยู่ ซึ่งหากมีการปล่อยมลพิษที่น้อยลง นักลงทุนจะได้รับ Digital Token ที่เป็นเครดิตคาร์บอนเป็นการตอบแทน

เพียงเท่านี้ นักลงทุนทุกคนก็เข้าใจเป็นที่เรียบร้อยแล้วว่า ESG คืออะไร ตลอดจนสามารถนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาปรับใช้ในการลงทุนได้อย่างไร สำหรับใครที่ต้องการร่วมลงทุนในโปรเจกต์จากธุรกิจในไทยที่ช่วยสร้างความยั่งยืนให้กับโลกทั้งตามหลัก ESG และ Sustainable Development Goals อย่าลืมติดตามข่าวสารและโปรเจกต์ที่น่าสนใจจาก Kubix เอาไว้ให้ดี

 

บทความนี้ไม่ใช่คำแนะนำทางการลงทุน นักลงทุนโปรดศึกษาความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง

โทเคนดิจิทัลเป็นสินทรัพย์มีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาก่อนตัดสินใจลงทุนและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ตนเองยอมรับได้


ติดตามข่าวสารจากเราได้ที่ : 
➡ LINE Official: @Kubix (https://lin.ee/Jub58gd)
➡ Website: https://www.kubix.co

scroll top iconBack to top